วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กลุ่มดาวจักรราศีั (Zodiac)


กลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac)
กลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac)
ไม่รู้ซินะ ปกติเป็นคนที่เวลาว่างๆ ชอบแอบนอนดูดาว ก็แบบว่าดาวบนท้องฟ้าสวยนะ บางทีก็ปล่อยอารมณ์ไป จินตนาการเหมือนโยงเส้นจากดาวแต่ละดวง เป็นรูปโน้นรูปนี้บ้าง ค่ำคืนนี้ อยากจะชวนสาว Chic มาพักผ่อนนอนเล่นบนดาดฟ้าโล่งๆ จะกางเก้าอี้ผ้าใบนอนเอกเขนกที่ริมระเบียง หรือจะแหงนมองผ่านหน้าต่างไปบนท้องฟ้าก็ดี ลมเย็นๆ พัดมา เป็นการพักผ่อนที่รีเล็กซ์ดีจัง แหม ถ้าได้ใครสักคนที่่รู้ใจมาอิงแอบแนบสนิท มานอนนับดาวด้วยกัน ก็แสนจะโรแมนติก มีความสุขมากมายไม่ใช่เล่น ไปโน่นแล้ว สาวๆ Chic ของเราหลายคนเกือบหายเข้าไปผืนฟ้าและหมู่ดาวแล้ว เอาเป็นว่าเข้าเรื่องก่อน อยากจะถามว่า เวลาที่สาว Chic มองไป เคยจินตนาการดวงดาวระยิบระยับนับล้านบนผืนฟ้าเป็นรูปอะไรกันบ้าง หลายคำตอบ บ้างเห็นเป็นรูปตะบวยตักน้ำ รูปลูกไก่ รูปคันไถ รูปเต่า รูปจรเข้ รูปหมีใหญ่ รูปแมงป่อง รูปสิงโต เป็นต้น ในบรรดากลุ่มดาวเหล่านั้น มีดาวอยู่ 12 กลุ่มดาว ที่มีชื่อว่า กลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac) ทั้ง 12 ซึ่งทางดาราศาสตร์ (Astronomy)และโหราศาสตร์ (Astrology) ให้ความสนใจพิเศษ และเชื่อว่ามีอิทธิพลกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนโลกใบนี้
ก็ตั้งแต่ต้น บอกแล้ววันนี้จะชวนสาว Chic ดูดาว ก่อนจะชวนคุยอะไรต่อมิอะไร คงจะต้องมาเข้าใจพื้นฐานการดูดาวเสียก่อน เริ่มเลยนะคะ
เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ มาทำความรู้จักกับท้องฟ้า
Zodiac เมื่อเรายืนอยู่ในที่โล่งแจ้ง เช่น ทุ่งโล่งหรือชายทะเล และสังเกตท้องฟ้า เราจะเห็นว่าท้องฟ้ารูปครึ่งทรงกลมครอบเราอยู่ เรียกว่า “ทรงกลมท้องฟ้า (Celestial Sphere))” โดยเราจะอยู่ที่จุดศูนย์กลางเสนอพื้นดินที่เรายืนอยู่ เป็นระนาบขนาดใหญ่ ที่เราเรียกว่า “ระนาบขอบฟ้า (Horizontal Plane)” เส้นขอบฟ้า (Horizontal line) จะเป็นเส้นรอบวงที่ล้อมรอบผู้สังเกตที่อยู่ไกลลิบ มองเห็นเป็นรอยต่อระหว่างทรงกลมท้องฟ้ากับพื้นดิน นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่งสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า ที่เราควรรู้จัก คือ “จุดเหนือศีรษะ (Zenith)”
Zodiacสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ก็คือ การรู้จักทิศบนโลก เราใช้หลักเกณฑ์อย่างใดในการกำหนดทิศบนโลกพร้อมให้เหตุผลประกอบการที่โลกหมุนรอบตัวเองไปทางทิศเดียวกับการโคจรรอบดวงอาทิตย์นักวิทยาศาสตร์ จึงได้กำหนดให้ทิศที่โลกหมุนไปเป็นทิศตะวันออก ส่วนทิศที่อยู่ตรงข้ามกับการหมุนของโลกเป็นทิศตะวันตก ดังนั้นขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองทิศจึงติดไปกับโลกตลอดเวลา ดังภาพ แสดงทิศเมื่อเทียบกับผู้สังเกต ณ ตำแหน่งต่างๆ
เมื่อโลกหมุนพาสังเกตไปอยู่ ณ ตำแหน่ง 1 และ 3 ผู้สังเกตจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ทิศเดียวกันหรือไม่ เพราะเหตุใด เมื่อผู้สังเกตมาอยู่ ณ ตำแหน่งที่ 1 2 3 และ 4 จะเป็นเวลาประมาณเท่าใด เมื่อเรามีความเข้าใจในเรื่องทรงกลมท้องฟ้าและระนาบขอบฟ้า รวมทั้งหลักเกณฑ์การกำหนดทิศบนโลกแล้ว ให้เรากำหนด เหนือ-ใต้ ตะวันออก-ตะวันตก ณ ตำแหน่งที่เรายืนอยู่ จากนี้ ให้เราสังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่าง ๆ เป็นต้น
วัตถุท้องฟ้ามีการเคลื่อนที่อย่างไร ทำไมเราจึงสังเกตเห็นวัตถุท้องฟ้ามีการเคลื่อนที่ในแต่ละวัน ถึงตรงนี้ คงเข้าใจคำบางคำตามหลักดาราศาสตร์กันแล้ว จะได้ไปดูดาวกันเสียที
การสังเกตดาวระยิบระยับอยู่เต็มท้องฟ้า
ในสมัยโบราณนั้น มลภาวะทางแสงจะน้อยกว่าปัจจุบัน จะเห็นดาวฤกษ์ดาดดื่นเต็มท้องฟ้าไปหมด และสังเกตเห็นการอยู่รวมกันของกลุ่มดาวฤกษ์เป็นกลุ่มเป็นพวก ที่เราเรียกกันว่า กลุ่มดาว (Constellation ซึ่งมาจากคำว่า Con แปล ว่าอยู่ด้วยกัน กับคำว่า Stella แปลว่า ดาวฤกษ์) ทำให้คนในสมัยโบราณได้จินตนาการกลุ่มดาวบนท้องฟ้า เป็นรูปคน รูปสัตว์ต่างๆ กัน โดยเมื่อ 2,000 ปีก่อน พโทเลมี นักปราชญ์ชาวกรีกได้แบ่ง กลุ่มดาวเอาไว้จำนวน 48 กลุ่ม โดยไม่ได้มีกลุ่มดาวทางซีกฟ้าใต้ เนื่องจากไม่ได้เห็นบนท้องฟ้า จนกระทั้งปี ค.ศ. 1930 องค์การดาราศาสตร์สากล ( Internation Astronomical Union หรือ IAU) ได้ตกลงแบ่งเขตกลุ่มดาวให้ชัดเจนขึ้น โดยกำหนดใช้พิกัด R.A และ Dec กำหนดกลุ่มดาวทั่วท้องฟ้า และแบ่งกลุ่มดาวฤกษ์ออกเป็น 88 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มกำหนดไว้ในรูปของตัวบุคคล เครื่องมือสัตว์ต่าง ๆ ในเทพนิยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทพนิยายกรีก ซึ่งเป็นนิยายปรัมปราที่มีการเล่าขานสืบต่อมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล และยังเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน การกำหนดเช่นนี้ทำให้การจดจำกลุ่มดาวต่าง ๆ ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังทำให้การดูดาวมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน
สำหรับประเทศไทยซึ่งมีตำแหน่งบนโลกคือ ละติจูดประมาณ 15 องศาเหนือ ณ ตำแหน่งนี้คนไทย จะเห็นกลุ่มดาวได้ราว 74 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ระหว่าง Dec. +90 องศาเหนือถึง Dec.-75 องศาใต้ ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เราจะแบ่งกลุ่มดาวออกเป็นส่วนๆ คือ
1) กลุ่มดาวซีกฟ้าเหนือ โดยการใช้แนวเส้นศูนย์สูตรฟ้า (Dec 0 องศา) เป็นตัวแบ่ง นับไปทางขั้วฟ้าเหนือ (Dec +90) ซึ่งแนวเส้นศูนย์สูตรฟ้านี้จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผู้สังเกตเป็นหลัก ถ้าผู้สังเกตอยู่ซีกฟ้าเหนือ เส้นศูนย์สูตรฟ้าของเฉียงค่อนไปทางใต้ ห่างจากจุดกลางศีรษะเราเท่ากับตำแหน่งละติจูดที่ผู้สังเกตอยู่ เช่นประเทศไทย อยู่ละติจูด 13.5 องศาโดยเฉลี่ย(ตำแหน่งของกรุงเทพฯ) เส้นศูนย์สูตรฟ้าจะเองค่อนไปทางใต้ 13.5 องศาด้วยเช่นกัน
ZodiacZodiac
2) กลุ่มดาวซีกฟ้าใต้ โดยการใช้แนวเส้นศูนย์สูตรฟ้า (Dec 0 องศา) เป็นตัวแบ่ง นับไปทางขั้วฟ้าใต้ (Dec -90)
ZodiacZodiac
3) กลุ่มดาวจักรราศี คือกลุ่มดาวที่อยู่ในแนวที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่าน เราเรียกเส้นนี้ว่า สุริยวิถี (Ecliptic) เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวที่แน่นอน 12 กลุ่มในรอบ 1 ปี การสังเกตกลุ่มดาวจักรราศีนี้จะอยู่ใกล้เคียงกับแนวเส้นศูนย์สูตรฟ้า โดยมีตำแหน่งห่างมากที่สุด 23.5 องศา เท่ากับแกนเอียงของโลก ปัจจุบันตำแหน่งสูงสุดทางซีกฟ้าเหนืออยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) และตำแหน่งต่ำสุดทางซีกฟ้าใต้อยู่บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) การไล่ตำแหน่งกลุ่มดาวจักรราศี จะไล่จากทิศตะวันตกไปตะวันออกบนท้องฟ้า
4) กลุ่มดาวแนวทางช้างเผือก เป็นการคาบเกี่ยวระหว่างข้อ 1 ถึง 3 เป็นแนวกลุ่มดาวพิเศษที่แยกมาเพื่อง่ายต่อการจดจำอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจากแนวทางช้างเผือกนั้นจะมีแนวผ่านกลุ่มดาวที่แน่นอนบนท้องฟ้า ซึ่งตำแหน่งศูนย์กลางของทางช้างเผือกนั้นจะอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างกลุ่มดาว แมงป่อง (บริเวณหาง) กับกลุ่มดาวคนยิงธนู ใกล้กับแนวเส้นสุริยะวิถี (Ecliptic) ทำมุมระหว่างกัน 60 องศา โดยจะไล่ไปทางซีกฟ้าเหนือผ่านไปทางกลุ่มดาวนกอินทรีย์(Aquila) ลูกธนู(Sagitta) หงส์(Cygnus) เซเฟอุส(Cepheus) คาสสิโอเปีย(Cassiopeia) เปอร์เซอุส(Perseus) สารถี(Auriga) คนคู่(Gemini) ม้ายูนิคอน(Monoceros) สุนัขใหญ่(Canis Major) ท้ายเรือ(Pupis) ใบเรือ(Vela) กระดูกงูเรือ(Carina) บางเขนใต้(Crux) ม้าครึ่งคน(Centaurus) แท่นบูชา(Ara) และ แมงป่อง(Scorpius) ครบรอบ
Zodiacทางดาราศาสตร์ (Astronomy) พื้นฐานที่เราเคยเรียนมาตั้งแต่เด็กๆ ก็คือ การหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้เกิดกลางวัน กลางคืน การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เวลาและฤดูกาลผ่านไป โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ กินเวลา 1 ปีี ดวงจันทร์หมุนรอบโลก เกิดการเปลี่ยนรูปร่างที่เรียกว่า "ข้างขึ้น-ข้างเแรม" ถ้าสังเกตให้ดีดวงจันทร์เทียบกับดาวฤกษ์หรือกลุ่มดาว จะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนผ่านไปตามกลุ่มดวง 12 กลุ่ม เมื่อติดตามการปรากฎของกลุ่มดาวทั้ง 12 กลุ่มนี้อย่างละเอียด พบว่า ในขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกนั้น เส้นทางที่ ดวงอาทิตย์ปรากฏโคจรไปบนท้องฟ้าผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ ในรอบปีหนึ่งๆ นั้น เรียกว่า สุริยวิถี (Ecliptic) เส้นนี้พาดจากขอบฟ้าทิศตะวันออก ผ่านกลาง ฟ้าเหนือศีรษะไป ทางขอบฟ้าทิศตะวันตก ดวงอาทิตย์ก็เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวทั้ง 12 กลุ่มนี้เช่นกัน เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านกลุ่มดาว 12 กลุ่ม ครบรอบจะสัมพันธ์กับรอบการเกิดฤดูกาลบนโลกพอดี ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านกลุ่มดาว 12 กลุ่มครบรอบกำหนดให้เป็นเวลา 1 ปี บรรดาดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ ดวงนพเคราะห์ ต่างเคลื่อนที่ในแนวแถบเส้นสุริยวิถี (Ecliptic) ผ่านกลุ่มดาวทั้ง 12 กลุ่ม ซึงเราเรียกลุ่มดาวกลุ่มนี้ว่า กลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac) ทั้ง 12 และนี่เองที่ทางโหราศาสตร์์ (Astrology) อันเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการทำนาย และการพยากรณ์โชคชะตา (Horoscope) ของมนุษย์, ปรากฏการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง และของโลก ได้อาศัยตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้าเป็นเครื่องชี้ แล้วบันทึกไว้เป็นสถิติในการทำนายทายทัก เพราะเชื่อว่า แต่ละคนมีช่่วงเวลาเกิดต่างกัน ย่อมมีดวงดาวแลtธาตุประจำตัวที่ต่างกันไป ซึ่งมีอิทธิพลกับบุคคลิก ลักษณะนิสัย และการดำรงชีวิต ของแต่ละบุคคล เรื่องนี้เป็นอีกเื่รื่่องที่สาวๆ ชอบกันนักหนา
Zodiac กลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac) ทั้ง 12
Zodiac คำนี้มาจากภาษาละติน คำว่า zōdiacus , มาจากภาษากรีก ζωδιακός κύκλος (zōdiakos kuklos) หมายถึง " วงกลมของสัตว์ " (Circle of animal), ζώδιον (zōdion) ζῶον (zōon) หมายถึง "สัตว์เล็กๆ " (Animal) และ ได้ใช้สัตว์ชนิดต่างๆ บนวงกลม เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ ส่วนคำไทย ใช้คำว่า จักรราศี หมายถึง วงล้อ วงกลม ของกลุ่มดาวรูปต่างๆ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 12 ส่วน แทนด้วยสัตว์จริง หรือสัตว์สมมุติ
กลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac) ทั้ง 12 คือ กลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่มที่ปรากฏอยู่ตามแนวเส้นสุริยวิถี (Ecliptic) ฮิปปาร์คัส ( Hipparchus )แบ่งแถบเส้นสุริยวิถี (Ecliptic) ซึ่งเป็นแถบกว้าง 16 องศา กว้างวัดจากสุริยะวิถี (Ecliptic) ไปข้างละ 8 องศา รอบท้องฟ้าออกเป็น 12 ส่วน แต่ละส่วนกว้าง 30 องศา ทุกราศีมีดาวฤกษ์ประจำอยู่ 1 กลุ่ม จึงเรียกกลุ่มดาว 12 ราศี เวลาดูในท้องฟ้า จะเห็นกลุ่มดาว 12 ราศีเรียงตามลำดับ จาก ทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก และจะมีชื่อเรียกตามกลุ่มดาวที่อยู่ในแถบแนวเส้นสุริยวิถี (Ecliptic) นี้ว่า " เครื่องหมาย หรือ สัญลักษณ์จักรราศี (Sign of the Zodiac) "
ชื่อกลุ่มดาว
สัญลักษณ์ีจักรราศี
ภาพกลุ่มดาว
ธาตุ
ตำแหน่ง,เวลาที่เห็นชัดเจน
แกะ
Aeries
ราศีเมษ
Zodiac
Zodiac
ไฟ
ระหว่างละติจูด 90 และ -60 องศา. ในเดือนธันวาคม (เวลา 21:00 น)
วัว
Taurus
ราศีพฤษภ
Zodiac
Zodiac
ดิน
ระหว่างละติจูด 90 และ -65 องศา. ในเดือนมกราคม (เวลา 21:00 น)
คนคู่
Gemini
ราศีเมถุน
Zodiac
Zodiac
ลม
ระหว่างละติจูด 90 และ -60 องศา.ในเดือนกุมภาพันธ์
ปู
Cancer
ราศีกรกฎ
Zodiac
Zodiac
น้ำ
ระหว่างละติจูด 90 และ -60 องศา. ในเดือนมีนาคม (เวลา 21:00 น)
สิงโต
Leo
ราศีสิงห์
Zodiac
Zodiac
ไฟ
ระหว่างละติจูด 90 และ -65 องศา. ในเดือนเมษายน(เวลา 21:00 น)
หญิงสาว
Virgo
ราศีกันย์
Zodiac
Zodiac
ดิน
ระหว่างละติจูด 80 และ -80 องศา. ในเดือนพฤษภาคม (เวลา 21:00 น)
คันชั่ง
Libra
ราศีตุลย์
Zodiac
Zodiac
ลม
ระหว่างละติจูด 65 และ -90 องศา. ในเดือนมิถุนายน (เวลา 21:00 น)
แมงป่อง
Scorpio
ราศีพิจิก
Zodiac
Zodiac
น้ำ
ระหว่างละติจูด 40 และ -90 องศา. ในเดือนกรกฎาคม (เวลา 21:00 น)
คนยิงธนู
Sagittarius
ราศีธนู
Zodiac
Zodiac
ไฟ
ระหว่างละติจูด 55 และ -90 องศา. ในเดือนสิงหาคม (เวลา 21:00 น)
แพะทะเล
Capricorn
ราศีมกร
Zodiac
Zodiac
ดิน
ระหว่างละติจูด 60 และ -90 องศา.
ในเดือนกันยายน (เวลา 21:00 น)
คนแบบหม้อน้ำ
Aquarius
ราศีกุมภ์
Zodiac
Zodiac
ลม
ระหว่างละติจูด 65 และ -90 องศา.
ในเดือนตุลาคม (เวลา 21:00 น)
ปลา
Pisces
ราศีมีน
Zodiac
Zodiac
น้ำ
ระหว่างละติจูด 90 และ -65 องศา. ในเดือนพฤศจิกายน (เวลา 21:00 น)


วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ดาวพลูโต< pluto >

                                  ดาวพลูโต< pluto >

การท่องระบบสุริยะจบลงที่ ซึ่งเดิมที่ต้องจบลงที่ดาวพลูโต ซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์
ดวงสุดท้ายในทั้งหมด 9 ดวง และเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์มาก
ที่สุด หากยืนอยู่บนดาวพลูโต แล้วมองเข้ามาหาจุดศูนย์กลางของระบบสุริยะ
จะเห็นดวงอาทิตย์เล็กนิดเดียว คล้ายกับที่เรามองเห็นดาวเป็นจุดเล็กๆในท้องฟ้า

โดยแท้จริงนั้น ดาวพลูโต มีข้อแตกต่างจากดาวเคราะห์อื่นอย่างมาก ด้วยมีขนาด
เล็กมีวงโคจรแบบ Eccentric (เยื้องศูนย์กลาง หรือคล้ายลูกเบี้ยว) รวมทั้งมีความ
เอียงเทลาด (Inclined) มากถึง 17 องศา

ส่วนองค์ประกอบของดาวพลูโต เป็นหินและน้ำแข็ง มีความต่างจากดาวเคราะห์
ทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เพราะเมื่อตรวจสอบแล้วปรากฎว่าเป็น ลักษณะแบบ
เดียวกับ ดาวหาง (Comets) นั้นเป็นข้อมูลการโต้แย้งกันเมื่อ ค.ศ.1990

บัดนี้ดาวพลูโตถูกกำหนดประเภทให้ใหม่ เป็นดาวเคราะห์แคระ (Dwarf planet)
เมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2006 หลังจากเป็นประเภทดาวเคราะห์ (Planet) 75 ปี
ยังได้กำหนดให้ดาวพลูโต เป็นวัตถุต้นแบบ ของกลุ่มวัตถุที่เรียกว่า Plutoid โดย
เป็นกลุ่มย่อยของดาวเคราะห์แคระ ใช้เรียกดาวเคราะห์แคระที่อยู่ไกลกว่าวงโคจร
ของดาวเนปจูน

ดังนั้นการจัดประเภทใหม่ มิได้้เป็นเรื่องที่น่าวิตก ตราบใดที่ดาวพลูโต ก็ยังเป็น
ดาวพูลโตอยู่อย่างเดิม อนาคตหากมีการสำรวจระยะใกล้ชิด ในแต่ละชนิดของ
วัตถุระบบสุริยะ ไม่แน่นักอาจมีการจัดประเภทใหม่ เพิ่มเติมขึ้นอีกเป็นได้
                                           เปรียบเทียบขนาดดาวพลูโตกับโลกและดวงจันทร์
วงจรของดาวพลูโต มีลักษณะมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์แบบลูกเบี้ยวซึ่งไม่กลมและเอียงลาด 17 องศา
ดวงจันทร์ Charon มีลักษณะพิเศษของจังหวะการโคจรเกาะกัน (Locked) ด้วยจุดแรงดึงดูด
สมมาตร กับดาว Plutoไปด้วยกันแบบพร้อมเพรียง สงสัยว่าเป็นลักษณะ Binary Planet
(ดาวเคราะห์คู่) คล้ายกับ Binary stars (ดาวคู่) ซึ่งมีอยู่มากในจักรวาล ขณะนี้ยังไม่มีคำตอบ
ดาวพลูโต กำเนิดจากดาวหาง ?

ขนาดดาวพลูโต เล็กเท่ากับ 2 ใน 3 ของดวงจันทร์ (โลก) มีหินเป็นแกนในถูกห่อ
หุ้ม ไปด้วย Nitrogen, Methane ของน้ำและน้ำแข็ง มีความหนาแน่นต่ำ ปริมาตร
มวลของ ดาวพลูโตเท่ากับ1 ใน 6 ดวงจันทร์ (โลก)

หากมองพื้นผิวจะเห็นความใสของชั้นน้ำแข็งแห้ง ผสมรวมกับ Carbon monoxide
เมื่อถึงช่วงโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ น้ำแข็งจะละลาย ท่วมเป็นชั้นบางๆบนพื้นผิว
แบบชั่วคราว

บนดาวพลูโตมีความกดดันเพียง 1 ใน 1,000,000 เมื่อเทียบกับชั้นบรรยากาศโลก
ซึ่งถ้าเอาสิ่งของจากโลก ไปวางตั้งบนดาวพลูโต จะลอยเคว้งขว้างไปทั่วเหตุจาก
แรงดึงดูด น้อย ราว 6% เมื่อเทียบกับโลก จึงเป็น ต้นเหตุทำให้มีชั้นบรรยายกาศ
แผ่ปกคลุมในระดับสูงมาก และการที่มีวงโคจรเป็นรูปไข่ (Elliptical) เมื่อถึงช่วง
ห่างไกลดวงอาทิตย์ ทำให้หนาวเย็นจัด บางครั้งชั้นบรรยายกาศเกิดน้ำแข็งขึ้นได้

ด้วยมีขนาดเล็ก และอยู่ไกลอย่างมาก บริเวณที่เรียกว่า Kuiper Beltอาจเรียกว่า
เป็นบริเวณ พิภพน้ำแข็ง ดังนั้นเชื่อว่าดาวพลูโต คือ 1 ใน 100 ของดาวหางขนาด
ใหญ่ (Large comets) ที่เป็นลักษณะ Iceballs (ลูกบอลน้ำแข็ง) เหมือนก้อน
น้ำแข็ง ซึ่งไม่มีหาง
                                            ดาวพลูโต (ใกล้) และดวงจันทร์ Charon (ไกล)
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ข้อมูลดาวพลูโตนั้นมีน้อย ในราวกลาง ค.ศ.2015 เมื่อยาน
สำรวจ New Horizons เดินทางไปถึง คงจะสามารถรายงานข้อมูลของดาวพลูโต
และวัตถุต่างๆ ในบริเวณพิภพน้ำแข็ง และสุดขอบระบบสุริยะ กลับมาให้ทราบ

ดวงจันทร์น้ำแข็ง ของดาวพูลโต

ดาวพลูโตมีดวงจันทร์ 3 ดวงคือ ดวงจันทร์ Charon (134340 I) มีขนาดเล็กมาก
เส้นผ่าศูนย์กลางราว 1,000 กม. เป็นวัตถุแบบเดียวกับดาวหาง สำหรับอีก 2 ดวง
คือ ดวงจันทร์ Hydra (134340 III) และดวงจันทร์ Nix (134340 II)

ทั้งหมดจัดว่าเป็นกลุ่ม วัตถุที่โคจรในเขต Kuiper Belt โดยมีแรงดึงดูดยึดเกี่ยว
ซึ่งกันและกันในจังหวะการโคจร (Synchronous orbit) ดวงจันทร์แต่ละดวงจะ
รักษาตำแหน่ง หันด้านนั้นเข้าหากันตลอดเวลา รวมทั้งหันซีกเดียวกันให้ดาวพลูโต
เป็นลักษณะส่ายไปส่ายมา

ดวงจันทร์ Charon นั้นปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ในทางทฤษฎีเชื่อว่าดวงจันทร์
Charon กำเนิดจากการชนปะทะทำให้ ส่วนหนึ่งของดาวพูลโตกระเด็นออกมา
เช่นเดียวกับ การกำเนิดดวงจันทร์ (โลก)

                                             เชื่อว่าดวงจันทร์ Charon กำเนิดจากการชนปะทะ

                                                          ดวงจันทร์ของดาวพูลโต
                                                     การสำรวจดาวพลูโต