วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ดาวพลูโต< pluto >

                                  ดาวพลูโต< pluto >

การท่องระบบสุริยะจบลงที่ ซึ่งเดิมที่ต้องจบลงที่ดาวพลูโต ซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์
ดวงสุดท้ายในทั้งหมด 9 ดวง และเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์มาก
ที่สุด หากยืนอยู่บนดาวพลูโต แล้วมองเข้ามาหาจุดศูนย์กลางของระบบสุริยะ
จะเห็นดวงอาทิตย์เล็กนิดเดียว คล้ายกับที่เรามองเห็นดาวเป็นจุดเล็กๆในท้องฟ้า

โดยแท้จริงนั้น ดาวพลูโต มีข้อแตกต่างจากดาวเคราะห์อื่นอย่างมาก ด้วยมีขนาด
เล็กมีวงโคจรแบบ Eccentric (เยื้องศูนย์กลาง หรือคล้ายลูกเบี้ยว) รวมทั้งมีความ
เอียงเทลาด (Inclined) มากถึง 17 องศา

ส่วนองค์ประกอบของดาวพลูโต เป็นหินและน้ำแข็ง มีความต่างจากดาวเคราะห์
ทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เพราะเมื่อตรวจสอบแล้วปรากฎว่าเป็น ลักษณะแบบ
เดียวกับ ดาวหาง (Comets) นั้นเป็นข้อมูลการโต้แย้งกันเมื่อ ค.ศ.1990

บัดนี้ดาวพลูโตถูกกำหนดประเภทให้ใหม่ เป็นดาวเคราะห์แคระ (Dwarf planet)
เมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2006 หลังจากเป็นประเภทดาวเคราะห์ (Planet) 75 ปี
ยังได้กำหนดให้ดาวพลูโต เป็นวัตถุต้นแบบ ของกลุ่มวัตถุที่เรียกว่า Plutoid โดย
เป็นกลุ่มย่อยของดาวเคราะห์แคระ ใช้เรียกดาวเคราะห์แคระที่อยู่ไกลกว่าวงโคจร
ของดาวเนปจูน

ดังนั้นการจัดประเภทใหม่ มิได้้เป็นเรื่องที่น่าวิตก ตราบใดที่ดาวพลูโต ก็ยังเป็น
ดาวพูลโตอยู่อย่างเดิม อนาคตหากมีการสำรวจระยะใกล้ชิด ในแต่ละชนิดของ
วัตถุระบบสุริยะ ไม่แน่นักอาจมีการจัดประเภทใหม่ เพิ่มเติมขึ้นอีกเป็นได้
                                           เปรียบเทียบขนาดดาวพลูโตกับโลกและดวงจันทร์
วงจรของดาวพลูโต มีลักษณะมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์แบบลูกเบี้ยวซึ่งไม่กลมและเอียงลาด 17 องศา
ดวงจันทร์ Charon มีลักษณะพิเศษของจังหวะการโคจรเกาะกัน (Locked) ด้วยจุดแรงดึงดูด
สมมาตร กับดาว Plutoไปด้วยกันแบบพร้อมเพรียง สงสัยว่าเป็นลักษณะ Binary Planet
(ดาวเคราะห์คู่) คล้ายกับ Binary stars (ดาวคู่) ซึ่งมีอยู่มากในจักรวาล ขณะนี้ยังไม่มีคำตอบ
ดาวพลูโต กำเนิดจากดาวหาง ?

ขนาดดาวพลูโต เล็กเท่ากับ 2 ใน 3 ของดวงจันทร์ (โลก) มีหินเป็นแกนในถูกห่อ
หุ้ม ไปด้วย Nitrogen, Methane ของน้ำและน้ำแข็ง มีความหนาแน่นต่ำ ปริมาตร
มวลของ ดาวพลูโตเท่ากับ1 ใน 6 ดวงจันทร์ (โลก)

หากมองพื้นผิวจะเห็นความใสของชั้นน้ำแข็งแห้ง ผสมรวมกับ Carbon monoxide
เมื่อถึงช่วงโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ น้ำแข็งจะละลาย ท่วมเป็นชั้นบางๆบนพื้นผิว
แบบชั่วคราว

บนดาวพลูโตมีความกดดันเพียง 1 ใน 1,000,000 เมื่อเทียบกับชั้นบรรยากาศโลก
ซึ่งถ้าเอาสิ่งของจากโลก ไปวางตั้งบนดาวพลูโต จะลอยเคว้งขว้างไปทั่วเหตุจาก
แรงดึงดูด น้อย ราว 6% เมื่อเทียบกับโลก จึงเป็น ต้นเหตุทำให้มีชั้นบรรยายกาศ
แผ่ปกคลุมในระดับสูงมาก และการที่มีวงโคจรเป็นรูปไข่ (Elliptical) เมื่อถึงช่วง
ห่างไกลดวงอาทิตย์ ทำให้หนาวเย็นจัด บางครั้งชั้นบรรยายกาศเกิดน้ำแข็งขึ้นได้

ด้วยมีขนาดเล็ก และอยู่ไกลอย่างมาก บริเวณที่เรียกว่า Kuiper Beltอาจเรียกว่า
เป็นบริเวณ พิภพน้ำแข็ง ดังนั้นเชื่อว่าดาวพลูโต คือ 1 ใน 100 ของดาวหางขนาด
ใหญ่ (Large comets) ที่เป็นลักษณะ Iceballs (ลูกบอลน้ำแข็ง) เหมือนก้อน
น้ำแข็ง ซึ่งไม่มีหาง
                                            ดาวพลูโต (ใกล้) และดวงจันทร์ Charon (ไกล)
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ข้อมูลดาวพลูโตนั้นมีน้อย ในราวกลาง ค.ศ.2015 เมื่อยาน
สำรวจ New Horizons เดินทางไปถึง คงจะสามารถรายงานข้อมูลของดาวพลูโต
และวัตถุต่างๆ ในบริเวณพิภพน้ำแข็ง และสุดขอบระบบสุริยะ กลับมาให้ทราบ

ดวงจันทร์น้ำแข็ง ของดาวพูลโต

ดาวพลูโตมีดวงจันทร์ 3 ดวงคือ ดวงจันทร์ Charon (134340 I) มีขนาดเล็กมาก
เส้นผ่าศูนย์กลางราว 1,000 กม. เป็นวัตถุแบบเดียวกับดาวหาง สำหรับอีก 2 ดวง
คือ ดวงจันทร์ Hydra (134340 III) และดวงจันทร์ Nix (134340 II)

ทั้งหมดจัดว่าเป็นกลุ่ม วัตถุที่โคจรในเขต Kuiper Belt โดยมีแรงดึงดูดยึดเกี่ยว
ซึ่งกันและกันในจังหวะการโคจร (Synchronous orbit) ดวงจันทร์แต่ละดวงจะ
รักษาตำแหน่ง หันด้านนั้นเข้าหากันตลอดเวลา รวมทั้งหันซีกเดียวกันให้ดาวพลูโต
เป็นลักษณะส่ายไปส่ายมา

ดวงจันทร์ Charon นั้นปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ในทางทฤษฎีเชื่อว่าดวงจันทร์
Charon กำเนิดจากการชนปะทะทำให้ ส่วนหนึ่งของดาวพูลโตกระเด็นออกมา
เช่นเดียวกับ การกำเนิดดวงจันทร์ (โลก)

                                             เชื่อว่าดวงจันทร์ Charon กำเนิดจากการชนปะทะ

                                                          ดวงจันทร์ของดาวพูลโต
                                                     การสำรวจดาวพลูโต

1 ความคิดเห็น: